ความหมายและหลักกการทำงานของตู้เย็น

ตู้เย็น

ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป
ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร
ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 °C (ประมาณ 0 °F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน
ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน

ประวัติ

ก่อนการประดิษฐ์ตู้เย็นประเทศในเขตหนาวได้มีการตัดน้ำแข็งก้อนใหญ่จากทะเลสาบในฤดูหนาวมาเก็บในขี้เลื่อยไว้ใช้ตลอดปี ในประเทศไทยคนส่วนมากเก็บอาหารไว้ในตู้กับข้าวซึ่งป้องกันแมลงและหนูมารบกวนเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันการเน่าเสีย คนไทยมีวิธีอื่น ๆ อีกมากเพื่อถนอมอาหาร เช่น หมัก ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง รมควัน นอกจากนี้คนไทยยังเก็บน้ำฝนไว้ในโอ่งดินซึ่งทำให้น้ำเย็นตามธรรมชาติ
An early electric refidgerator, with a cyclindrical heat exchanger on top. Now in the collection of Thinktank, Birmingham Science Museum.
ในศตวรรษที่ 11 มุสลิมนักฟิสิกส์และเคมีชาวเปอร์เซีย, อวิเซ็นน่า หรือ อิบนูซีนา (Ibn Sina หรือ Avicenna) ประดิษฐ์เครื่องควบแน่น (refrigerated coil) เพื่อใช้ในการกลั่นน้ำมันหอม นี่เป็นการพัฒนาการกลั่น โดยอวิเซ็นน่าเป็นคนแรกที่ใช้การกลั่นด้วยไอน้ำ ซึ่งต้องใช้เครื่องควบแน่นในการทำให้ไอกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในระยะทางสั้นเพื่อผลิตน้ำมันหอม กระบวนการกลั่นนี้ได้ใช้มาถึงปัจจุบัน โดยในประเทศไทยได้ใช้ในการผลิตน้ำมันหอมระเหย
วิลเลียม คัลเลน (William Cullen) ประดิษฐ์ตู้เย็นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว (University of Glasgow) ในปี 1748 หลังจากนั้นในปี 1805 เมื่อโอลิเวอร์ อีวาน (Oliver Evans) ได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ใช้ไอทำความเย็น ต่อมาในปี 1902 วิลลิส ฮาวิแลนด์ คาริเออร์ (Willis Haviland Carrier) ได้ประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศ ในปี 1850 ถึง ปี 1851, ดร. จอห์น โกรี (John Gorrie) ประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็ง ในปี 1857 เจมส์ แฮริสัน (James Harrison) วิศวกรชาวออสเตรเลียได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ทำความเย็นด้วยการอัดไอเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อแช่แข็ง ต่อมาเฟอร์ดินานด์ คารี่ (Ferdinand Carré) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาระบบให้ซับซ้อนในปี 1859 โดยใช้แก๊สแอมโมเนียซี่งระเหยเร็วเป็นตัวระบายความร้อนแทนอากาศ jojo

การออกแบบ

ตู้เย็นทำความเย็นโดยปั๊มความร้อนในการทำความเย็น โดยในแต่ละรอบของการทำความเย็น สารทำความเย็นเช่น R134a เข้าไปในเครื่องอัดความดันหรือที่เรียกกันว่าคอมเพรสเซอร์(compressor) ที่มีความดันต่ำอุณหภูมิที่จุดเดือด แล้วอัดไอนั้น พออัดจนมีความดันสูงไอก็จะร้อน (สังเกตจากเวลาสูบลมจักรยาน) ไอร้อนความดันสูงเข้าไปในเครื่องควบแน่น (condenser) แล้วออกมาเป็นของเหลวความดันสูงที่จุดเดือด หลังจากนั้นก็ไปที่แผงระบายความร้อน สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวอุณหภูมิเย็นลงแล้วไหลไปที่ใกล้กับส่วนที่ต้องการให้เย็น ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นก๊าซอุณหภูมิต่ำ (เหมือนเวลาปล่อยลมออกจากล้อจักรยาน แล้วก็ไหลไปเป็นวงจรเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีในการทำความเย็น

คุณภาพของตู้เย็น

ตู้เย็นรุ่นใหม่ราคาแพงส่วนมากมักมีคุณสมบัติต่อไปนี้
  • ไม่มีน้ำแข็งเกาะตามตู้ในช่องแช่แข็ง
  • เตือนเมื่อไฟตกหรือไฟดับ
  • มีที่กดน้ำและน้ำแข็งจากหน้าตู้โดยไม่ต้องเปิดประตู
  • มีไฟบอกเมื่อต้องเปลี่ยนที่กรองน้ำ
  • มีถาดทำน้ำแข็งอยู่ภายใน
ตู้เย็นรุ่นแรก ๆ จะมีน้ำแข็งเกาะตามตู้ของช่องแช่แข็ง เกิดจากความชื้นตอนเปิดประตูตู้ โดยน้ำแข็งจะหนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ใช้ต้องละลายน้ำแข็งเอง เช่น ถอดปลั๊กออกจนกว่าน้ำแข็งข้าง ๆ ตู้จะละลายหมด ต่อมา จึงพัฒนาเป็นแบบกดปุ่มละลายน้ำแข็ง และละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็งเพื่อประหยัดไฟ
ในปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แก๊สฟรีออน (freon) โดยมีส่วนของซีเอฟซี (chlorofluorocarbons, CFCs) ที่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ ตู้เย็นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ใช้แก๊สฟรีออนซึ่งมักรั่วออกสู่บรรยากาศ (สังเกตง่าย ๆ ได้จากการที่ต้องเติมน้ำยาทำความเย็นของตู้เย็น หรือน้ำยาแอร์ในเครื่องปรับอากาศ) ตู้เย็นรุ่นใหม่มักใช้สารทำความเย็นที่ไม่มีส่วนของซีเอฟซี เช่น HFC-134a (1,2,2,2-tetrafluoroethane) ซึ่งไม่ทำลายชั้นโอโซน

ประสิทธิภาพของตู้เย็น

ตู้เย็นที่กินไฟมากสุดคือแบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะต้องมีตัวเป่าความชื้นออกจากใบของพัดลมในตู้เย็น และยังต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิเป็นพัก ๆ แบบที่รองลงมาได้แก่แบบไม่มีระบบละลายน้ำแข็งเลย แต่ว่าน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นก็ทำให้กินไฟมากขึ้น ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็ง และแบบที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็งกินไฟที่สุด แต่ผู้ใช้มักไม่ซื้อตู้เย็นประหยัดไฟเนื่องจากมีราคาแพง
ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมาก (เกือบจะมากที่สุด รองจากเครื่องปรับอากาศ) ในช่วงยี่สิบปีมานี้มีการแข่งขันของผู้ผลิตในการพัฒนาตู้เย็นประหยัดไฟมากขึ้น ตู้เย็นที่มีคุณภาพดีในปัจจุบันกินไฟประมาณ 1 ยูนิต (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ต่อวันสำหรับตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่อาจกินไฟถึง 4 ยูนิตต่อวัน
ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านบนจะกินไฟน้อยกว่าแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่างในความจุที่เท่ากัน ส่วนแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านข้าง จะกินไฟมากที่สุด  นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ผลิตตู้เย็นตามแบบของไอสไตน์ ที่ประดิษฐ์ครั้งแรกในปี 1930 โดยตู้เย็นนี้ไม่ใช้ไฟฟ้า และไม่มีส่วนของก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ
ตู้เย็นที่มีประสิทธิภาพมากสุดตามทฤษฎีคือตู้เย็นคาร์โนต์ซึ่งไม่สามารถผลิตได้จริง

ผลต่อชีวิตประจำวัน

ตู้เย็นสามารถถนอมอาหารให้สดใหม่ได้นาน ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่สามารถซื้ออาหารมาเก็บไว้ได้ทีละมาก ๆ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การสร้างห้างสรรพสินค้าซึ่งมีอาหารหลากหลายชนิด ส่งผลให้โภชนาการของประชาชนทั่วไปดีขึ้น การขาดสารอาหารลดลง ผลิตภัณท์นม เนื้อสัตว์ ปลา เป็ดไก่ ผัก และอาหารทะเลสามารถเก็บในตู้เย็นที่อยู่ในห้องครัวได้ (ควรเก็บเนื้อดิบ ๆ แยกต่างหากเพื่อความสะอาด)
ผู้คนสามารถรับประทานอาหารที่หลากหลายในมื้อเดียว เช่น สลัดผัก นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มาจากหลายที่ เช่น ภาคอีสานสามารถรับประทานอาหารทะเลเพื่อป้องกันโรคคอพอก การส่งออกอาหารแช่แข็งก็เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้มากมาย

ระบบช่องเก็บอาหารตู้เย็น

ตู้เย็นส่วนใหญ่แบ่งเป็นหลายส่วนเพื่อเก็บอาหารดังนี้
ปุ่มปรับความเย็นของตู้เย็นมักเป็นตัวเลข (เช่น 1 ถึง 9 จากเย็นน้อยไปเย็นสุด) โดยต่างกันไปแล้วแต่ผู้ผลิต แต่มักอยู่ในช่วง 2 ถึง 8 °C (36 ถึง 46 °F) และอุณหภูมิประมาณ -18 °C (0 °F) ในช่องแช่แข็ง
ผู้ใช้ควรวางตู้เย็นไว้ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทเพื่อให้ตู้เย็นทำงานสะดวกและลดการกินไฟ
  • ไม่ควรวางตู้เย็นใกล้ผนังเกินไป เพราะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี
  • ไม่ควรวางตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำเย็นไว้ในห้องปรับอากาศ เพราะทำให้เสียค่าไฟสองต่อ โดยตู้เย็นดูดความร้อนเป่าออกมาหลังเครื่องทำให้ห้องร้อนขึ้น]]

ขนาด

ขนาดของตู้เย็นวัดเป็นลิตรหรือคิว (คำว่าคิวมาจาก cubic foot/feet หมายถึงลูกบาศก์ฟุต) เช่น 100 ลิตร (3.53 คิว) เป็นช่องแช่แข็งกับ 140 ลิตร (4.94 คิว) สำหรับช่องธรรมดา
ตู้เย็นมีหลายขนาด แบ่งตามการใช้งาน เช่น ขนาดเป็นห้องใหญ่ ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม จนถึง 2-3 คิวที่ใช้ในบ้านเรือน
ประเภทของตู้เย็นโดยแบ่งตามลักษณะทางกายภาพ แบ่งใน 4 แบบ คือ
1.แบบ traditional : เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด ช่องแช่แข็งอยู่ด้านบน ส่วนแช่เย็นปกติอยู่ด้านล่าง มีทั้งแบบที่2ประตูที่ช่อแช่แข็งแยกไว้ชัดเจน และแบบประตูเดียวที่มีช่องแช่แข็งอยู่ภายในอีกที ซึ่งขนาดช่องแช่แข็งจะค่อนข้างเล็กกว่าแบบ2ประตู
2.แบบ side-by-side : ประตูเปิดได้2บานแบบแบ่งซ้าน-ขวา เหมือนตู้เสื้อผ้า โดยส่วนช่องแช่แข็งจะอยู่ในประตูบานซ้ายซึ่งมีขนาดเล็กกว่าประตูบานขวาซึ่งเป็นส่วนแช่เย็นปกติ บริษัทแรกที่แนะนำตู้เย็นแบบนี้สู่สาธารณชนคือบริษัทของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ อมานา (Amana) ในปี ค.ศ.1949 แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งปีค.ศ.1965
3.แบบส่วนแช่เย็นอยู่ด้านบน ช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง : ตู้เย็นแบบนี้ถูกวางขายครั้งแรกในช่วงกลางยุคคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยแนวความคิดของการออกแบบตู้เย็นลักษณะนี้น่าจะมาจากเหตุผลที่ว่า คนเราเปิดใช้ส่วนแช่เย็นบ่อยกว่าช่องแช่แข็ง จึงย้ายช่องแช่แข็งไปไว้ล่างสุด เพื่อที่เวลาเปิดหาของในช่องแช่เย็น จะได้ไม่ต้องก้มตัวให้มากนัก
4.ตู้เย็นแบบประตูฝรั่งเศส (French-door style) : ถูกวางขายครั้งแรกในช่วงปลายยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่าง ส่วนแช่เย็นปกติในด้านบนจะเป็นประตูเปิดได้แบบ 2 ทางแบบ side-by-size แต่ขนาดประตูจะเท่ากัน

หลักการทำความเย็น

การทำความเย็นเป็นการถ่ายเทความร้อนภายในตู้เย็นออกไป ซึ่งเกิดจากเครื่องอัดไอ (compressor) ทำหน้าที่อัดแก๊สของสารทำความเย็น (Refrigerant substant) ให้เป็นของเหลวในคอยล์ร้อนหรือเครื่องควบแน่น(Conderser) จากนั้นส่งผ่านไปยังหลอดรูเล็ก (Capillary tube) และไปยังคอยล์ร้อนหรือเครื่องระเหย (evaporator) ทำให้ความดันของของเหลวลดลงจนเปลี่ยนสถานะจากแก็สกลายเป็นไอ ซึ่งของเหลวได้รับความร้อนแฝงจากวัตถุต่างๆที่อยู่ใกล้เครื่องระเหย โดยวิธี การนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแผ่รังสี เพื่อทำให้อุณหภูมภายในตู้เย็นเย็นลง จากนั้นแก๊สความดันต่ำของสารทำความเย็นจะถูกดูดโดยเครื่องอัดไอและอัดออกไปยังเครื่องควบแน่น เพื่อถ่ายเทความร้อนออกไปจากระบบ ทำให้สารทำความเย็นจะเข้าไปรับความร้อนที่เครื่องระเหยใหม่อีกครั้ง อีกทั้งความเย็นจากสารทำความเย็นที่ดูดกลับมาบางส่วนสามารถนำมาช่วยในการระบายความร้อนให้กับเครื่องอัดไอ(compressor)การทำงานของระบบทำความเย็นนี้จะวนซ้ำไปเรื่อยเสมอ
อุปกรณ์และหลักการทำงาน ตู้เย็น
วันนนี้ เรามาคุยกันแบบสบายๆเกี่ยวกับตู้เย็น โดยไม่ต้องใช้หลักการหรือศัพท์เทคนิคให้ยุ่งยาก และในวันนี้เราจะมาร่ายยาวกัน เกี่ยวกับเรื่องตู้เย็นล้วนๆทั้งแบบธรรมดาสามัญ..ไปจนถึงแบบละลายน้ำแข็ง อัตโนมัติหลายๆประตู เพื่อจะได้รู้และเข้าใจในการทำงานเบื้องต้น จนนำไปสู่การแก้ไข..ซ่อมแซมได้บ้างด้วยตนเองก่อนที่จะถึงมือช่าง หรือรู้ไว้เพื่อที่จะได้แจ้งอาการกันได้อย่างถูกต้อง (ไม่แนะนำให้ไปเกทับ..กับช่างนะครับ)ถ้างั้น..เร่เข้ามา..เร่เข้ามาเลยครับ เราจะเริ่มจาก
   -ในตู้เย็นธรรมดาประตูเดียว ระบบการทำงานและวงจรไม่ได้ซับซ้อนมาก อาการเสียที่มักจะเจอส่วนใหญ่ก็เช่น
    ***ไฟติดสว่าง แต่คอมไม่ทำงาน ข้างๆตู้ไม่ร้อน ตู้ไม่มีความเย็น
    ***
ไฟติดสว่าง คอมทำงาน ข้างๆตู้ไม่ร้อน และตู้ไม่มีความเย็น
    ***
ไฟไม่ติดสว่าง คอมไม่ทำงาน แน่นอนตู้ไม่เย็น
    ***
เอามีดจิ้มในช่องฟรีซ เจอกันบ่อยๆกับอาการนี้
    ***
ตู้เย็นมาก ปรับเทอร์โมลดลงแล้วก็ยังเย็นมากอยู่
    ***
ปิดประตูตู้ไม่ได้
                                                    ***
เครื่องทำงาน..เย็นตามปกติแต่ไฟในตู้ไม่ติดสว่าง  เป็นต้น

คราวนี้เรามาดูวงจรไฟฟ้าของตู้เย็นแบบธรรมดาประตูเดียวกันหน่อยมั๊ย ว่าเป็นอย่างไร วงจรไฟฟ้านี้จะมีติดอยู่กับทุกตู้ จากด้านหลังเพื่อใช้อธิบายการทำงานและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในตู้ของรุ่นนั้น วงจรนี้เป็นการอธิบายการทำงานทางด้านไฟฟ้านะครับ มิใช่ระบบท่อหรือระบบความเย็น เราอาจจะผ่านตามาบ้างนะครับกับอุปกรณ์ต่างๆ และจากการที่ตู้มีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้นนี้ เราก็อาจจะพอจะรู้ได้บ้างว่าถ้าแต่ละตัว ...ถ้าเสียจะเกิดอาการอะไรขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
 -ตัวเทอร์โมหรือตัวปรับเร่ง-ลดอุณหภูมิภาย ในตู้ ถ้าไม่ต่อ คอมไม่เดินหรือไม่ทำงาน และในทางตรงกันข้ามถ้าต่อตลอด ก็จะทำให้ในตู้เย็นตลอด แม้กระทั่งไข่ที่แช่ไว้ก็ยังแข็งมาแล้ว
 -สตาร์ทติ้ง รีเลย์ถ้า เสียหรือมีปัญหา คอมก็อาจจะทำงานไม่ได้ ไม่อาจหรอก...ทำงานไม่ได้แหงมๆตัวนี้ทำหน้าที่เริ่มต้นการทำงานของคอมร่วม กับขดสตาร์ทภายในตัวคอม ถ้าคอมไม่ทำงานหรือออกตัวไม่ได้(หมายถึงสตาร์ทไม่ได้)ให้ลองเปลี่ยนใหม่ดู ก่อน ตู้ก็อาจจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ
 -โอเวอร์โหล โปรแทคเตอร์ (Overload Protecter)ชื่อ ก็บอกตามตัวเป๊ะๆเลยว่า ทำหน้าที่บ้องกันไม่ให้กระแสไฟไหลผ่านจนมากเกินไป ถ้ากระแสไฟผ่านมากไป ตัวนี้ก็จะทำการตัดไฟออกจากวงจรทันที และตัวมันเองก็จะร้อนมากด้วย สังเกตุได้โดยใช้หูฟังและสังเกตุให้ดี เมื่อเราเสียบปลั๊ก ถ้าคอมไม่ทำงานหรือทำงานไม่ได้เนื่องจากคอมสตาร์ทไม่ออก จนกระแสสูง เราจะได้ยินเสียงตัดดัง "ติ๊ก" มาจากตัวนี้ และในความเป็นจริงนั้นเจ้า โอเวอร์โหลดตัวนี้ ไม่ปรากฏว่าเสียได้ง่ายๆนักนะครับ
 -สวิทช์ประตู ทำหน้าที่เพียงต่อไฟในตู้ให้ส่องสว่าง ไม่ได้มีอะไรมาก ถ้าไฟในตู้ไม่ติดก็ลองเช็คสวิทช์ตัวนี้และเช็ค หลอดไฟด้วยว่าขาดเองหรือไม่

-คอมเพรสเซอร์ (Compressor)หัวใจหลักของตู้เย็น ทำหน้าที่ดูด-อัดน้ำยา ภายในระบบท่อก่อเกิดเป็นความเย็นขึ้นภายในตู้ อาการเสียที่เกิดจากการเสียของคอมเพรสเซอร์ก็คือตู้ไม่เย็น ซึ่งอาจจะเกิดจากตัวคอมเพรสเซอร์
  *****
ออกตัวไม่ได้หรือที่เรียกว่า สตาร์ทไม่ออก สาเหตุอาจเกิดจากอุปกรณ์สตาร์ท เช่น รีเลย์สตาร์ทติ้ง โอเวอร์โหลด หรือขดลวดสตาร์ทขาดเอง หรือเกิดการล็อคของโรเตอร์ (อาการนี้ถ้าใช้คลิปแอมป์จับกระแส จะได้กระแสที่สูงมาก)
  *****
ทำงานได้แต่ไม่มีแรงอัด อาจเกิดจากลิ้นรั่่วหรือแตก
  
            ไหนๆเราก็มาพุดกันถึงเรื่อง Compressor กันแล้วเราก็มาทำความรู้จักกับมันอีกซักกะติ๊ด เผื่อจะได้เกิดปิ้งไอเดีย สามารถที่จะแก้ไขอาการเสียของตู้เย็นด้วยฝีมือเราเองกันได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
    คอมเพรสเซอร์(Compressor) หรือ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์(Motor-Compressor)ทำหน้าที่ดูดน้ำยา(ในที่นี้เกี่ยวกับ ตู้เย็นจะเป็นน้ำยา -12 หรือ 134a และในตู้รุ่นใหม่ๆจะเป็น 600a)ที่เป้นแก๊ซแรงดันต่ำและทำการอัดให้มีแรงดันสูง เพื่อเข้าสู่ระบบต่อไป เป็นมอเตอร์แบบ Sprit Phase แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
  -
แบบเชื่อมปิดมิดชิด เรียกว่า แบบเฮอร์เมติก (Hermetic Compressor)ซึ่งเราจะมาทำความร้จักกับคอม ชนิดนี้กัน ส่วนอีกแบบ
  - 
แบบเซมิเฮอร์เมติก (Semi Hermetic)ซึ่งเป็นแบบสามารถถอดส่วนประกอบเพื่อซ่อมแซมได้
    
ส่วนประกอบของ Compressor แบบเฮอร์เมติก
 ลักษณะของตัวคอม จะมีท่อโผล่ออกมา 3 ท่อคือ
  *** 
ท่อดูด (ท่อซัคชั่น Suction)เป็นท่อกลับของน้ำยา ลักษณะท่อจะใหญ่เวลาตู้ทำงานท่อนี้จะเย็น ซึ่งถ้าเป็นแอร์ท่อนี้จะเย็นและมีน้ำกลั่นหยดลงมา
  *** 
ท่ออัด (ท่อเพรซเช่อร์ Pressur)เป็นท่อทางออกของแก๊ซที่ถูกอัดจนเป็นแก๊ซ แรงดันสูง ลักษณะท่อจะเล็กกว่า
  *** 
ท่อเติมน้ำยา ท่อ นี้ในตู้เย็นปกติจะไม่มีหัวเติมน้ำยามาด้วย เนื่องจากทางโรงงานจะเชื่อมปิดสนิทมาเราจะเห็นเป็นท่อออกมาจากตัวคอม การใช้งานส่วนใหญ่มักจะใช้เมื่อระบบท่อความเย็นรั่ว หรือช่องฟรีซโดนของมีคมจิ้มทะลุ เราก็จะเชื่อมหัวเติมน้ำยาเข้ากับท่อนี้ เมื่อเติมเสร็จจะเชื่อมปิดเหมือนเดิม หรือจะใส่หัวเติมน้ำยาไว้เลยก็ได้เช่นกัน
               
หมายเหตุ ในบางครั้งเราก็อาจจะเจอคอมเพรสเซอร์บางลูกมีถึง 5 ท่อ ท่อที่เพิ่มมาอีก 2 ท่อจะเป็นท่อสำหรับอุ่นน้ำมันภายในตัวคอมเอง (อันนี้ถ้าข้อมูลผิดพลาด ขอคำแนะนำจากผู้รู้จักขอบพระคุรเป็นอย่างยิ่ง)


เมื่อเราได้รู้จักกันไปแล้วสำหรับเรื่องท่อที่ออกจากตัวคอม ต่อไปเราจะมาดุขั้วหลัก หรือหัวต่อสำหรับตัวคอมเพรสเซอร์กัน
 
เนื่องจาก คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกนี้ องค์ประกอบจะประกอบด้วยตัวมอเตอร์(คือมีขดลวดมอเตอร์ โรเตอร์ และตัวคอมเพรสเซอร์อยู่ภายในตัวเดียวกันและอยู่ในสภาพปิดสนิท)เมื่อมี มอเตอร์ จึงต้องมีขั้วต่อสายสำหรับให้ตัวมอเตอร์ทำงาน เพื่อผลักดันให้ แมคคานิคภายในทำงานไปด้วย เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อเรามาดูกันเลย ขั้วหลักจะมีอยู่ 3 ขั้วคือ  
  -
ขั้วขดสตาร์ท หรือใช้อักษร S เป็นขดลวดที่มีขนาดเล็ก
  -
ขั้วขดรัน Run ใช้อักษร R
  -
ขั้วขด คอมม่อน Common ใช้อักษร C
  
การทำงานนั้นจะต้องมีอุปกรณ์ รีเลย์ สตาร์ทติ้งและโอเวอร์โหลดประกอบดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างบน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ - เครื่องทำความเย็น